ใบงานครั้งที่ 1
สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ
ความหมาย :
1) โลกาภิวัฒน์ (Globalization) หมายถึง การแพร่กระจายข้ามพรมแดนไปทั่วโลกของสิ่งต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์และบริการ ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยี และอีกมายมาย ซึ่งเกิดจากความเจริญก้าวหน้่าด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถรับรู้เรื่่องราวต่างๆได้มากมาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น
2) ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) หมายถึง การทำธุรกรรมต่างๆ จากประเทศหนึ่ง ไปสู่อีกประเทศหนึ่งตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป ดำเนินการโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน เพื่อการแสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ประกอบด้วย 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่
2.1 การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) คือ กิจกรรมการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ผ่านข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ประกอบด้วย การนำเข้า (Import) เป็นการสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศมายังภายในประเทศตามคำสั่งซื้อเพื่อการผลิตหรือจำหน่าย การส่งออก (Export) เป็นการส่งสินค้าและบริการออกจากประเทศหนึ่งไปขายยังอีกประเทศหนึ่งตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ และการค้าต่างตอบแทน (Counter trade) ระบบการซื้อขายที่ตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าแทนการชำระเงินหรือตกลงซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
2.2 การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) คือ การเคลื่อนย้ายทุนไปลงทุนดำเนินธุรกิจในต่างประเทศเพื่อแสวงหาผลตอบแทนหรือกำไรที่คาดว่าจะได้รับมากกว่าการลงทุนภายในประเทศ โดยภาคเอกชนหรือภาครัฐ ประกอบด้วย การลงทุนทางตรง (Direct Invesment) หรือเรียกอีกอย่างว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment :FDI) เป็นลักษณะของการลงทุนในต่างประเทศ ที่เจ้าของธุรกิจหรือประเทศเจ้าของทุน (Home Country) ยังมีอำนาจการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจของตนเอง การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment) เป็นลักษณะของการลงทุนที่คาดหวังอัตราผลตอบแทนหรือผลกำไรจากการลงทุนในรูปของเงินปันผล โดยการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินหรือกองทุนของต่างประเทศ
2.3 การค้าบริการระหว่างประเทศ (International Trade in Services) แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ 1)การให้บริการข้ามพรมแดน(Cross Border Supply)
2)การใช้บริการในต่างประเทศ (Consumption Abroad)
3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence)
4) การเคลื่อนย้ายบุคลากร (Movement of Natural Persons)
2.1 การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) คือ กิจกรรมการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ผ่านข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ประกอบด้วย การนำเข้า (Import) เป็นการสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศมายังภายในประเทศตามคำสั่งซื้อเพื่อการผลิตหรือจำหน่าย การส่งออก (Export) เป็นการส่งสินค้าและบริการออกจากประเทศหนึ่งไปขายยังอีกประเทศหนึ่งตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ และการค้าต่างตอบแทน (Counter trade) ระบบการซื้อขายที่ตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าแทนการชำระเงินหรือตกลงซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
2.2 การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) คือ การเคลื่อนย้ายทุนไปลงทุนดำเนินธุรกิจในต่างประเทศเพื่อแสวงหาผลตอบแทนหรือกำไรที่คาดว่าจะได้รับมากกว่าการลงทุนภายในประเทศ โดยภาคเอกชนหรือภาครัฐ ประกอบด้วย การลงทุนทางตรง (Direct Invesment) หรือเรียกอีกอย่างว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment :FDI) เป็นลักษณะของการลงทุนในต่างประเทศ ที่เจ้าของธุรกิจหรือประเทศเจ้าของทุน (Home Country) ยังมีอำนาจการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจของตนเอง การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment) เป็นลักษณะของการลงทุนที่คาดหวังอัตราผลตอบแทนหรือผลกำไรจากการลงทุนในรูปของเงินปันผล โดยการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินหรือกองทุนของต่างประเทศ
2.3 การค้าบริการระหว่างประเทศ (International Trade in Services) แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ 1)การให้บริการข้ามพรมแดน(Cross Border Supply)
2)การใช้บริการในต่างประเทศ (Consumption Abroad)
3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence)
4) การเคลื่อนย้ายบุคลากร (Movement of Natural Persons)
ที่มาของภาพ :http://www.mt.buu.ac.th |
วัตถุประสงค์ของธุรกิจระหว่างประเทศ :
1) เพื่อแสวงหาทรัพยากร ได้แก่ วัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยี เครื่องจักร และเงินทุน ประเทศต่างๆ มีลักษณะภูมิประเทศ ส่งผลให้มีทรัพยากรธรรมชาิติที่แตกต่างกัน ความเหมาะสมของพื้นที่การเกษตร การประมง ทำให้คุณภาพผลผลิตที่ได้แตกต่างกันไปด้วย รวมถึงทรัพยากรบางอย่างมีอยู่ในประเทศหนึ่ง แต่ไม่มีในอีกประเทศหนึ่ง แต่เป็นวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต จึงจำเป็นต้องแสวงหา และเกิดการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกัน รวมถึงแรงงาน เทคโนโลยี เครื่องจักร และเงินทุนด้วยเช่นกัน โดยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนของธุรกิจ ดังนั้นจึึงต้องแสวงหาทรัพยากรที่สามารถทำให้ต้นทุนต่ำลงให้ได้
2) เพื่อขยายฐานการผลิต จากวัตถุประสงค์ข้อแรก ทำให้ธุรกิจมีความต้องการขยายฐานการผลิตไปในประเทศที่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้
3) เพื่อขยายตลาดและเพิ่มยอดขาย เมื่อการแข่งขันภายในประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือตลาดผู้บริโภคภายในประเทศอิ่มตัว ธุรกิจจะเริ่มมองหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ ที่มีความต้องการสินค้าชนิดเดียวกัน มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่แตกต่างกันมากนัก หรือการสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น